วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หลักธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์



หลักธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์
ความหมายของการพัฒนาจริยธรรม
คำ ว่า “ การพัฒนา ” หมายถึง การสร้าง การทำให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น หรือการทำให้เป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดคำว่า “ จริยธรรม” หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม ดังนั้นรวมความแล้ว “การพัฒนาจริยธรรม” จึงมีความหมายว่า การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่ได้รับการทำให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เพื่อให้เกิดการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม อันเป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดไว้

จริยธรรมในการประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์
เนื่อง จากในช่วงปี ค.ศ. 1960 หลายองค์กรได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการแสดงออกของพฤติกรรมทางจริยธรรมของ กลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงนั้นยังไม่มีไม่มี กฎหมายทางคอมพิวเตอร์ จึงยังไม่มีการบังคับว่าจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือจะต้องสมัครเข้าเป็น สมาชิกในสมาคมวิชาชีพ มีแต่การกำหนดแนวทางด้านจริยธรรมของแต่ละองค์กรวิชาชีพ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงรวมตัวกันกำหนดแนวทางด้านจริยธรรมขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน โดยมีองค์กรใหญ่ ๆ อยู่ 5 องค์กร ดังนี้ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 : 37-38)
• DPMA (The Data Processing Management Association) เป็นองค์กรที่จัดการและรับผิดชอบด้านสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ กำหนดจริยธรรมและมาตรฐานในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ • ACM (The Association for Computing Machinery) เป็นสมาคมทางการศึกษาและศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์และพัฒนา กระบวนการทางระบบสารสนเทศในฐานะที่เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง • ICCP (The Institute for Certification of Computer Professional) เป็นองค์ที่สนับสนุนให้ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพได้มีโอกาสทดสอบความรู้และความ เป็นนักวิชาชีพ และมีการออกใบประกาศวิชาชีพให้ด้วย • CIPS (The Canadian Information Processing Society) เป็นสมาคมวิชาชีพคอมพิวเตอร์ที่ให้การสนับสนุนความเป็นนักวิชาชีพในกลุ่มของ ผู้ทำงานระบบสารสนเทศ ผู้ที่จะได้รับใบประกาศวิชาชีพของสมาคมจะต้องมีคุณสมบัติและมีประสบการณ์ตาม มาตรฐานที่กำหนด • BCS (The British Computer Society) เป็นสมาคมวิชาชีพสำหรับผู้ทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทางด้าน คอมพิวเตอร์และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทที่สำคัญของสมาคม คือ กำหนดมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพ และจริยธรรมในการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง

จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
1. จะต้องมุ่งม่นมีความรับผิดชอบต่อการขายสินค้าและบริการส่วนรวม
2. มีความพร้อมที่จะรับใช้สังคมด้วยความศรัทธา และจริงใจ
3. รักษาผลประโยชน์ของสังคมร่วมอย่างจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อสังคม ต่อผู้บริโภค
4. ไม่อำพรางข้อเท็จจริง หรือความเป็นจริงในเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. ไม่มอมเมาเผยแพร่สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมส่วนรวม
6. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผน วินัยของสังคมเพื่อก่อไห้เกิดระเบียบที่ดี
7. รับใช้สังคมตามความรู้ความสามารถ เช่น เสียภาษีอากรอย่างถูกต้อง ร่วมรณรงค์ต่อต้านการละเมิดกฎหมาย
ปัญหาทางจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
สาเหตุ ของปัญหาหลัก ๆ ของเรื่องน่าจะมาทั้งตัวนักคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้บริการเครือข่ายต่าง ๆ ขาดจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเกิดจากความไม่ตั้งใจ ขาดความรับผิดชอบที่ดี หรืออาจต้องการทดลองความรู้ ทดสอบอะไรบางอย่างก็เป็นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงส่งผลกระทบถึงหลายฝ่าย รวมทั้งภาพรวมของนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง

สาเหตุที่ต้องพัฒนาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
เนื่อง จากคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และจากความแตกต่างกันระหว่างบุคคลในสังคมซึ่งมีหลายระดับ หลากหลายอาชีพ ดังนั้นการละเมิดจริยธรรมจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ และบ่อยครั้งที่สร้างปัญหาให้กับสังคมในปัจจุบัน มีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อย หรือเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ จนถึงปัญหาที่เป็นเรื่องราวใหญ่โตลงข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีให้เห็นกัน อยู่บ่อย ๆ สาเหตุก็เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ นักคอมพิวเตอร์ ผู้งานใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ค่อยคำนึงถึงหลักจริยธรรม การขาดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม จึงทำให้เกิดปัญหาอย่างที่พบเห็นกันในปัจจุบัน และนับวันจะทวีความรุน แรงมากขึ้น สรุปแล้วต้นเหตุทั้งหมดของปัญหาก็เกิดมาจากการขาดจริยธรรมในการใช้งาน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
สรุป
นัก คอมพิวเตอร์คือ ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และนำความรู้ที่ได้ศึกษา อบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินอาชีพตลองจนพัฒนาความรู้ของตนเอง ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอๆ บทบาทของนักคอมพิวเตอร์มีทั้งบทบาททั่วไป และบทบาทที่คาดหวังโดยสังคมและองค์กรวิชาชีพว่า โดยทั่วไปแล้วนักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมกฎหมาย หรือข้อตกลงต่างๆ นักคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรับผิดชอบหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย นอกจากมีบุคลิกภาพที่ดีแล้วยังต้องมีค่านิยมที่พึงประสงค์ และคุณสมบัติของความเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ดีและครบถ้วนสมบูรณ์อีกด้วย

ที่มา http://f-tpinkheart.blogspot.com/2009/04/blog-post.html
กรณีศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน สามารถใช้โปรแกรมระบบและประยุกต์ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูล การแสวงหาความรู้ และการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และจากระบบฐานข้อมูลแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้เหมาะสม มีความรู้เรื่องการเคาระสิทธิและทรัพย์สินทาง
ปัญญาและการดำรงชีวิตประจำวันได
ที่มา www.it.scilpru.in.th/mko/kit1_55/003.docx




หลักธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์

จริยธรรม(Ethics) หมายถึงความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการ เลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลและสังคม เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ทำให้เกิดการกระจายอำนาจต่างๆ ภายในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือคู่แข่ง การตกงานการประกอบอาชญากรรมข้อมูล การละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลอย่างมากในการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิและความรับผิดชอบ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ จากภาวะนี้ทำให้เกิดการขาดคุณธรรมและจริยธรรมทางสังคม
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Ethical Considerations) จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรม เพราะถ้าหากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง จะก่อให้เกิดความเสียหายในองค์กร เช่นพนักงานบัญชีภายในองค์กรได้ขายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายภายในองค์กรให้กับบริษัทคู่แข่ง ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีจริยธรรมในการทำงาน การใช้จริยธรรมหรือจรรยาบรรณกับวิทยาการ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และระบบธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุมให้ทุกคนมีจริยธรรมในการปฏิบัติงานมีเหตุผลดัง นี้
1. การใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลเพราะการสื่อสารทำให้รวดเร็ว ที่ยุ่งยากซับซ้อน ปฏิสัมพันธ์ลดลง ทำให้จริยธรรมลดลงไปด้วย
2. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงและการเรียกใช้งาน คัดลอกได้ง่ายทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
3. ผลที่ได้จากการป้องกัน ความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงของข้อมูล รวมทั้งความพร้อมของข้อมูลที่มีอยู่ มีผลต่อการแข่งขัน หากใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้น หากเรามีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ปัญหาจะลดลง จึงมักมีการจัดอบรมพนักงาน และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ให้คุณธรรม
ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) Linda Herndon : Herndon : Computer Ethics, Netiquette, and Other Concerns ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
ที่มา http://www.jaisabai.com/index.php?app=dhama_corner&fnc=detail&id=164
กรณีศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ที่มา www.it.scilpru.in.th/mko/kit1_55/003.docx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น