วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายของของธุรกิจ (Business)


ธุรกิจ  (Business)  คือ การทำงานที่หวังผลกำไร และหวังผลประโยชน์จากการ
ประกอบการของกิจการ หรือจะเป็นการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการ
เสริมสร้างจริยธรรมองค์การธุรกิจต่อไป เราสามารถจำแนกธุรกิจเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้


1.ธุรกิจการเกษตรและกสิกรรม (Farm) เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ขายพันธุ์ไม้
ไม้ดอก  โคนม 

2. ธุรกิจบริการ (Service) เช่น โรงแรม  การขนส่ง  โรงพยาบาล

3. ธุรกิจการอุตสาหกรรม (Industry) ดำเนินการผลิตสินค้า (Goods
สินค้าอุปโภค บริโภค (Consumer’s Goods)

4. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commerce) ดำเนินการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ขายปลีก
(Retail) การขายส่ง (Wholesale) การขนส่ง (Transporting) การธนาคาร (Banking) ธุรกิจคลังสินค้า (Warehousing) การประกันภัย (Insurance)

5. ธุรกิจการศึกษา สถานศึกษาเอกชน เช่น โรงเรียนราษฎร์ วิทยาลัย หรือ
มหาวิทยาลัยเอกชน ที่ไม่ใช่เป็นสถาบันมูลนิธิ เป็นองค์การที่จัดทำเพื่อหวังกำไร
แฝงอยู่ ในอุดมคติการศึกษา

6. ธุรกิจการประมง คือ การจับสัตว์น้ำ

7. ธุรกิจการพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์



สรุป  ธุรกิจ คือ การแสวงหากำไรสูงสุด หรือ เป็นระบบการแลกเปลี่ยนสินค้า
ที่ได้จากการ ผลิตหรือบริการด้วยความยุติธรรม


ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ



จากการศึกษาสามารถสรุปความหมายของ จริยธรรมทางธุรกิจ ได้ดังนี้

จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม หมายถึง เป็นผู้
ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตจำหน่าย หรือบริการด้วยจริยาวัตรที่ดีงาม ผู้คุณธรรม มีมารยาท ซึ่งตรงยุติธรรม

จริยธรรมทางธุรกิจ  เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิตสินค้า การ
ให้บริการการจัดจำหน่ายเพื่อได้รับผลตอบแทนตามสมควรกับการที่ลงทุนไปอย่าง
เป็นธรรม ต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผลิตหรือผู้โภคเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร
ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ รัฐบาลสังคม ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน

จริยธรรมทางธุรกิจ  หมายถึง  กลไกทุกส่วนที่ให้ความชอบธรรมเพื่อ
ประสิทธิภาพสูงสุดของธุรกิจ


ความหมายของอาชีพกับธุรกิจ



จากการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจเราสามารถสรุป
ความหมายได้ดังนี้


อาชีพ (Profession) หมายถึง การทำงานที่มุ่งบริการยิ่งกว่าหาเงิน ผู้ประกอบ
อาชีพมิได้หมายความว่าต้องประกอบกิจการโดยไม่รับค่าตอบแทน จำเป็นจะต้อง มีอัตราค่าตอบแทน จำเป็นจะต้องจะต้องมีอัตรา ค่าตอบแทนพอสมควรกับการบริการ และการรับผิดชอบ แต่มุ่งประกอบเพื่อ รับใช้สังคมเป็นที่ตั้ง มีมาตรการ ร่วมสำหรับ ควบคุมการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการอาชีพนั้น ๆ ไม่กล้าฝืน เพราะ การเสียจรรยาบรรณจะได้รับ การดูถูกเหยียดหยามกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจ

ธุรกิจ (Business)  หมายถึง  การทำงานที่มุ่งหาเงินยิ่งกว่าการบริการ งานใด
จะเป็นอาชีพหรือธุรกิจย่อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจของตัวผู้ทำงาน  ฉะนั้นผู้ประกอบ ธุรกิจบางคนทำอย่างนักธุรกิจแต่อย่างเดียวบางคนทำอย่างนักอาชีพด้วยการมอง ถ้า มองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นนักธุรกิจ ถ้ามองในแง่แง่จริยศาสตร์ก็เป็นนักอาชีพ ผู้ที่มุ่งประกอบกิจการเพื่อโอบโกยหาผลประโยชน์แต่อย่างเดียวการแสดงออกใน ความ ประพฤติขณะทำงานจึงต่างกันกับผู้ประกอบอาชีพ อาชีพทั้งหลายก็ กลายเป็น ธุรกิจได้ง่าย


กรณีศึกษา


กรณีศึกษา : ข้อพิพาทลิขสิทธิ์ ห้องเรียนออนไลน์
มู เดิล (Moodle) เป็นโปรแกรมแจกฟรีสำหรับสร้างห้องเรียนออนไลน์ คู่มือก็แจกฟรีให้ศึกษาโดยไม่คิดมูลค่า แต่ไม่ใช่นำคู่มือแจกฟรีไปซื้อขายหรือหาผลประโยชน์ได้ ข้อพิพาทลิขสิทธิ์จึงเป็นเรื่องปัญหาน่าศึกษาอย่างยิ่ง
การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  เป็นปัญหาใหญ่ของการพัฒนาเทคโนโลยี  โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับการละเลยหรือใส่ใจแก้ปัญหา  จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำ ๆ กันตลอดเวลา   แต่สิ่งที่สิ่งผลใหญ่หลวงตลอดมากับประเทศชาติก็คือ ทำให้คนไทยไม่อยากคิด ไม่อยากพัฒนาเทคโนโลยี   เพราะมีแต่คนลอกเลียนแบบและหาผลประโยชน์จากความคิดของคนอื่น ๆ   ขณะที่คนคิด คนสร้าง คนพัฒนา ไม่ได้อะไรจากสิ่งที่ทำและเจ็บใจที่ถูกเอาไปหาผลประโยชน์    ประเทศชาติก็เสียหายเพราะไม่มีใครคิดจะสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยี
กรณีศึกษา  การละเมิดลิขสิทธิ์คู่มือมูเดิลของ ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท  เป็นอีกกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เบาบาง แม้ว่าคู่มือจะทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ใช้งานได้ฟรี  แต่ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปหาผลประโยชน์ได้
โดยส่วนตัวผมรู้จัก ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท และยอมรับในความสามารถของท่านเป็นอย่างยิ่ง   ขอสนับสนุนการปกป้องลิขสิทธิ์และป้องกันการละเมิด  จึงนำข้อมูล "ข้อพิพาทลิขสิทธิ์ ห้องเรียนออนไลน์" มาเป็นกรณีศึกษา
มติชน  วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10624
ข้อพิพาทลิขสิทธิ"ห้องเรียนออนไลน์"
คอลัมน์ Active Opinion
ปัญหาลิขสิทธิ์ทางปัญญาในเมืองไทย โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ด้านซอฟต์แวร์ คงไม่มีวันหมดไป แม้บางช่วงเวลาจะเบาบางไปบ้าง ขึ้นกับความเข้มงวด
ที่พูดเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญานี้ ด้วยเกิดเหตุการกระทำอันเรียกว่า "ละเมิด" ขึ้นมา กลายเป็นหัวข้อทอล์คในหมู่นักวิชาการ ข้าราชการ ด้านลิขสิทธิ์, อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ, ผู้ผลิตและจัดทำซอฟต์แวร์ รวมถึงนักการศึกษา และสื่อมวลชนด้านไอทีขึ้นมา
กลายเป็นคดีความที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง นั่นคือ การละเมิดลิขสิทธิ์ การจัดทำหนังสือคู่มือโปรแกรมมูเดิล (Moodle) ภาคภาษาไทย
โปรแกรมมูเดิลเป็นระบบสำหรับการสร้างห้องเรียนออนไลน์ เดิมทีเป็นโปรแกรมที่ชาวออสเตรเลียเขียนขึ้นก่อนเป็นภาษาอังกฤษ แล้วเผยแพร่เป็นโปรแกรมแบบเสรี (Open Source) ในระบบยูนิกซ์ (Unix) ผู้ที่ได้นำมาจัดทำเป็นระบบภาษาไทย คนแรกนำโดย ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท ที่ปรึกษาชมรม Moodle E-Learning แห่งประเทศไทย
"มูเดิลพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 ออกมาหลายเวอร์ชั่นจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดกิจกรรมต่างๆ ในระบบการเรียนออนไลน์ ให้มีบรรยากาศเหมือนนั่งเรียนในห้องเรียน ในเมืองไทยมีการนำไปใช้ในโครงการโรงเรียนในฝันและโครงการ Secondary Education Quality Improvement Project-SEQI ที่ธนาคารโลกให้การสนับสนุน ทำให้โปรแกรมนี้แพร่หลายอย่างมากในประเทศไทย" ดร.วิมลลักษณ์บอกเล่าที่มาของโปรแกรม
เมื่อถูกถามถึงรายละเอียดในการละเมิดลิขสิทธิ์ ดร.วิมลลักษณ์เล่าว่า ตัวเธอเป็นผู้พัฒนาให้โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีในระบบภาษาไทย และได้จัดทำคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทยออกมา พร้อมให้ผู้ต้องการใช้สามารถเข้าไปดาวโหลดได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยระบุไว้ว่าหากจะนำไปใช้เพื่อกิจการใด ให้แจ้งให้ตนทราบก่อนซึ่งทุกรายจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แจ้งความประสงค์และขออนุญาตเสมอมา
"จนเมื่อกระทรวงศึกษาฯร่วมมือกับธนาคารโลก จัดทำโครงการ SEQI นำเอามูเดิลไปใช้กับห้องเรียนออนไลน์ พร้อมเปิดประมูล ปรากฏว่าบริษัทผู้ได้งานไปตามสัญญาที่ทำไว้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อ 21 กรกฎาคม 2547 ได้นำเอาคู่มือการใช้งานมูเดิลที่ทำไว้ไปใช้ ส่งเป็นผลงานของตน มอบให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่เคยใช้โปรแกรมนี้มาก่อนก็ทราบดีว่า เป็นผลงานของใคร จึงส่งอี-เมลมาบอกให้ทราบ" เจ้าของลิขสิทธิ์เล่าความ
ดร.วิมลลักษณ์จึงได้พยายามติดต่อสอบถามไปยังบริษัทผู้รับงานประมูลนี้ ในเบื้องต้น ทางบริษัทยอมรับว่าได้กระทำไปจริง และขอชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็ถูกประวิงเวลา และยังไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายใดจนถึงปัจจุบัน
"แม้จะลดค่าชดเชยลงเหลือแค่ ให้เขาบริจาคเงินให้โรงเรียนในชนบทกับบริจาคคอมพิวเตอร์สัก 3 เครื่อง แต่ก็ยังเพิกเฉย และยังมีความพยายามไปติดต่อขอรับเงินจากงานประมูลนี้กับทางกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่ยังค้างชำระอยู่" ดร.วิมลลักษณ์กล่าว และบอกว่า ทางกระทรวงศึกษาฯเองก็ไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ ได้สอบถามไปยังกรมบัญชีกลาง, สำนักงานอัยการสูงสุด และทบทวนเรื่องนี้ ถึงผู้บริหารระดับรัฐมนตรี จนงดจ่ายเงินในส่วนค้าง จนกว่าคดีนี้จะถึงที่สุด และให้เรียกร้องส่วนที่ชำระไปเบื้องต้นคืนก่อนด้วย
นักวิชาการและข้าราชการด้านลิขสิทธิ์ที่ร่วมวงสนทนา ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า หากเป็นเรื่องวรรณกรรมแล้ว ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนทันทีที่เผยแพร่ ไม่จำเป็นต้องไปจดลิขสิทธิ์ใดๆ การนำไปใช้ หากไม่ได้รับอนุญาตก็ถือว่าผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ในทันที ไม่ว่านักกฎหมายระดับใดก็ควรรู้ความในข้อนี้
"รับรองได้ เรื่องแบบนี้นักกฎหมาย ผู้ถือกฎหมาย ผู้ใช้กฎหมาย คนไหนๆ ก็ทราบหลักการดี คดีแบบนี้ไม่มีใครกล้าบิดพลิ้วจากตัวบทที่มีอยู่แน่นอน ต่อให้เขาอำนาจหรือเงินไปง้างก็ไม่ไหว ใครเผลอรับไป เจอคุกง่ายๆ" ข้าราชการนักกฎหมายตอบ เมื่อถามว่า คดีในลักษณะนี้จะมีโอกาสพลิกได้หรือไม่
ด้านอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีฯให้ความเห็นว่า การกระทำแบบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องของจิตสำนึกของคน โดยเฉพาะคนไทยที่ถูกตำหนิเสมอมาว่าไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นลักลอบใช้โปแกรมคอมพิวเตอร์กันแบบง่ายๆ จนกลายเป็นเรื่องโด่งดังไปทั่วโลกทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ไม่อยากเข้ามาลงทุนผลิต หรือว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ของไทย ยิ่งข่าวโปรแกรมมูเดิลแพร่ออกไป แม้แต่โปรแกรมเปิด หรือ Open Source ยังโดนลอกเอาไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ของบริษัทโดยไม่คำนึงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่แม้แต่จะขออนุญาตหรือรับผิดชอบ ผลเสียยิ่งมากขึ้นไปอีก
ขณะนี้ในแวดวงโปรแกรมเมอร์ ร่วมสนทนาวงเดียวกันเสริมว่า ข่าวคราวเรื่องการคัดลอกคู่มือมูเดิลในเมืองไทยกระจายไปแทบจะทั่วโลก ผ่านเว็บไซต์ มูเดิล จนโปรแกรมเมอร์ของมูเดิลที่มีทั่วโลกเขาพูดถึงและออกเสียงประณามกันไปหมดยิ่งมารู้ว่ามีการลดหย่อนค่าเสียหายนี่ มีแต่คนตำหนิเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าไม่สมควร จะทำให้คนลักลอบใช้ได้ใจและทำซ้ำอีก
"ถ้ามองว่าแค่เรื่องหนังสือคู่มือเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็อยากให้รู้ว่าเรื่องเล็กน้อยนี้ได้ทำลายชื่อเสียงประเทศชาติไปด้วยแล้ว คนขโมยไม่ได้แค่ขโมยผลงานเขียนจากเจ้าของตัวจริงไปเท่านั้น ยังเหยียบย่ำทำลายชื่อเสียงประเทศไปพร้อมๆ กันด้วยเขาหาว่าเรายังขโมยของพวกเรากันเอง แล้วของคนอื่นจะไม่หนักกว่านี้เหรอโกรธนะที่ได้อ่านอี-เมลของเพื่อนๆ แต่ไม่รู้จะโต้เถียงอย่างไรเหมือนกัน" นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์อีกคนหนึ่งกล่าวเสริม
อย่างไรก็ตาม ดร.วิมลลักษณ์ทิ้งท้ายว่า เธอไม่ต้องการให้เรื่องนี้เป็นชนวนของความเสียหายต่างๆ ได้พยายามประนีประนอมถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากอีกฝ่าย จึงจำเป็นต้องปกป้องสิทธิของตน
นี่เป็นเพียงยกแรกของการสนทนาในปัญหาลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไทย เพราะเมื่อล้วงลงไปในรายละเอียดของข้อพิพาท ยิ่งพบบาดแผลลึก���ี่กระทำย่ำยีต่อลิขสิทธิ์อื่นๆรวมถึงผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในภาคเอกชนที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์อีกด้วย
มูเดิลจึงไม่เพียงแค่ข้อพิพาทของคนไทย ที่ไม่ยอมเคารพสิทธิคนไทยด้วยกันเท่านั้น เมื่อไทยไม่เคารพสิทธิไทยด้วยกัน แล้วจะหวังให้ใครมาเคารพตนเอง


ที่มา  http://www.gotoknow.org/posts/89869

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น