วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น



                                                                                 เสรีภาพในการพูด
 (อังกฤษfreedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (อังกฤษfreedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ได้รับและนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม
สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม

ที่มา th.wikipedia.org/wiki/เสรีภาพในการพูด

กรณีศึกษา
สหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย จัดเสวนา "การสร้างความปรองดองและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น" โดยยกกรณีกฎหมายอาญามาตรา 112 ในการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ขึ้นมาแสดงความคิดเห็น
 
นายเดวิด ลิปแมน หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานเสวนาครั้งนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นหลักการสากล ที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยประเทศไทย ก็ได้แสดงท่าทีที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับสิทธิเสรีภาพในประเทศ จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันในครั้งนี้ขึ้นมา


หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ยืนยันว่าไม่ได้มีภารกิจที่จะแทรกแซงกิจการภายในของไทย แต่ต้องการเน้นการแสวงหาความร่วมมือ โดยต้องการส่งเสริมการพูดคุยและถกเถียง เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยสหภาพยุโรป ซึ่งมีประเทศสมาชิกหลายประเทศ เคยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาก่อน จึงยินดีที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยร่วมกัน
 
 ด้านนายประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส สำนักพิมพ์เนชั่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีกฎหมายอาญามาตรา 112 ถึงการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งเพิ่งถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 11 ปี โดยเห็นว่า กรณีที่องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงสภาพยุโรป แสดงความกังวลมานั้น เป็นเพราะการตัดสินครั้งนี้ กระทบต่อสถานะของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างมาก
 ทั้งนี้ ในการเสวนาได้มีการอภิปรายกันถึงความสำคัญของสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งมีแนวโน้มถดถอยลง จากการถูกปิดกั้น แทรกแซง รวมถึงการดำเนินคดีต่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยอาศัยกฎหมายพิเศษเช่นกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
 
โดยในวันพรุ่งนี้ (31 ม.ค.56) การเสวนาจะมีต่ออีก 1 วัน ในหัวข้อว่าด้วยกฎหมายและกรอบทางสังคม กับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะมีวิทยากรสำคัญๆ เข้าร่วม ได้แก่
 
- นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนอิสระ 
- ดร.เดวิด เสร็กฟัส ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- นายจอน อึ๊งภากรณ์ หัวหน้าคณะทำงานศึกษากฎหมายอาญามาตรา 112 
- นางสาวจิรานุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเวปไซต์ประชาไท
- ศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


http://news.voicetv.co.th/thailand/61841.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น